aaron

1.Xin Li You Shu (In Our Hearts, We Know) - Fahrenheit 2.Calvin Chen Xin Li You Shu 3.Xin wo - 新窩- Fahrenheit and SHE MV Guy Version 4.SHE & Fahrenheit - Xin Wo 1( Behind The Scenes) (ENG SUBS) 5.Gei Wo Ni De Ai (Give Me Your Love) - Tank

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อักษรไทยสมัยพ่อขุนราม


อักษรไทย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ  และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า "เมื่อ ก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี 1205 เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช 1826)

ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง

1.อักษร สมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท
2.สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ   สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน
3.สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)
4.สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี   โดยไม่มีไม้หน้า
5.สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)
6.สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)
7.สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)
8.ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)
ฯลฯ
อักษรไทยสมัยสุโขทัย
อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุง สุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน     ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัด แปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน

อักษรไทยในปัจจุบัน

พยัญชนะ

พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
                             วรรค กะ     -     ก ไก่     ข ไข่     ฃ ขวด*     ค ควาย     ฅ คน*     ฆ ระฆัง     ง งู
                             วรรค จะ     -     จ จาน     ฉ ฉิ่ง     ช ช้าง     ซ โซ่     ฌ เฌอ     ญ หญิง
                             วรรค ฏะ     -     ฎ ชฎา     ฏ ปฏัก     ฐ ฐาน     ฑ มณโฑ     ฒ ผู้เฒ่า     ณ เณร
                             วรรค ตะ     -     ด เด็ก     ต เต่า     ถ ถุง     ท ทหาร     ธ ธง     น หนู
                             วรรค ปะ     -     บ ใบไม้     ป ปลา     ผ ผึ้ง     ฝ ฝา     พ พาน     ฟ ฟัน     ภ สำเภา     ม ม้า
                             เศษวรรค     -     ย ยักษ์    ร เรือ    ล ลิง    ว แหวน    ศ ศาลา    ษ ฤๅษี     ส เสือ     ห หีบ     ฬ จุฬา    อ อ่าง    ฮ นกฮูก
         * เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกด

พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย
    * อักษรสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
    * อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
    * อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ

สระ        

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง
         * ะ วิสรรชนีย์ นมนางทั้งคู่
         *  ั ไม้หันอากาศ หางกังหัน ไม้ผัด
         *  ็ ไม้ไต่คู้ ไม้ตายคู้
         * า ลากข้าง
         *  ิ พินทุ์อิ
         *  ่ ฝนทอง
         *  ํ นิคหิต นฤคหิต หยาดน้ำค้าง
         * " ฟันหนู, มูสิกทันต์
         *  ุ ตีนเหยียด ลากตีน
         *  ู ตีนคู้
         * เ ไม้หน้า
         * ใ ไม้ม้วน
         * ไ ไม้มลาย
         * โ ไม้โอ
         * อ ตัวออ
         * ย ตัวยอ
         * ว ตัววอ
         * ฤ ตัวรึ
         * ฤๅ ตัวรือ
         * ฦ ตัวลึ
         * ฦๅ ตัวลือ


วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง  คำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม

รูปวรรณยุกต์

    *  ่ ไม้เอก
    *  ้ ไม้โท
    *  ๊ ไม้ตรี
    *  ๋ ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์

    * เสียงสามัญ
    * เสียงเอก
    * เสียงโท
    * เสียงตรี
    * เสียงจัตวา
 

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

shuffle


คือว่าฉันได้รู้จักกลุ่มเพื่อนที่เป็นพวกชอบเต้น Shuffle (มันเต้นทุกวันเลย )

เข้าเรื่อง ก็เห็นว่ามันแบบน่าสนใจดี ไม่รู้ว่าที่ไทยฮิตไหม? ก็เลยลองเอามาให้ดู

การเต้นจะคล้ายๆ Breakdance มั้ง เพื่อนบอกต้นกำเนิดมาจาก Russia ไม่ต้องพูดไรมาก ดู Clip เลยดีกว่า

2 คนนี้ไม่รู้จักนะ หา Clip เอาใน Youtube เห็นเต้นเก่งดี






Clip VDO สอนท่า Basic ถ้าใครสนใจลองทำตามดู


วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สอบสัมภาษณ์

เตรียมตัวอย่างไร ให้ผ่านการสอบสัมภาษณ์

การสอบสัมภาษณ์ในอดีตจะเป็นขั้นตอนหลังที่ผู้สมัครต้องพบเจอเป็นขั้นตอนที่สอง หลังจากสอบผ่านข้อเขียนเรียบร้อยแล้ว แต่ในปัจจุบันด้วยสภาวการณ์การแข่งขันที่เปลี่ยนไป จำนวนสถานศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น หลาย ๆ หลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักสูตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ และภาคภาษาอังกฤษ ที่ใช้การสอบสัมภาษณเป็นการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนั้นๆ การสอบสัมภาษณ์ ที่ในอดีตผู้เข้าสัมภาษณ์จะผ่านเกือบร้อยเปอร์เซนต์ สำหรับการสัมภาษณ์เพื่อเข้าศึกษาต่อ แต่ในปัจจุบันมันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรที่ใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์เป็นการคัดเลือกหลักนั้น จะมีทั้งผู้สอบผ่าน และไม่ผ่าน ดังนั้น ผู้สมัครจึงควรมีการเตรียมตัวที่ดี

การเตรียมตัวเพื่อเข้าสอบสัมภาษณ์สำหรับเข้าศึกษาต่อในรับมหาบัณฑิต หรือปริญญาโท ไม่ว่าสาขาวิชาใด ๆ ผู้เข้าสอบควรมีการเตรียมความพร้อมต่อไปนี้ อย่างแรก ก็คงหนีไม่พ้นการแต่งกายที่จะสร้าง First impression ของเราให้กับอาจารย์ผู้สอบนะคะ ที่หลาย ๆ โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ อาจมีตำถามว่าควรแต่งชุดอะไรไปเข้าสอบดี ชุดนักศึกษา ชุดทำงาน ต้องใส่สูทผูกไทหรือไม่ คำตอบง่าย ๆ ก็คือชุดสุภาพ เรียบร้อย ผู้หญิงหากไม่ใส่กระโปรง ก็ควรเป็นกางเกงผ้าที่ดูเรียบร้อย อาจต้องพิเศษนิดนึงถ้าเป็นการสอบหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร ก็ควรใส่สูทไม่ว่าจะเป็นกระโปรง หรือกางเกงได้ทั้งนั้นค่ะ สำหรับผู้ชายคงต้องเป็นเสื้อเชิ้ต กางเกงแสล็ค หรือสูทสองชิ้นทั่วไปค่ะ ที่แน่ๆ ไม่ควรใส่ยีนส์นะคะ ไม่ว่าจะเป็นกระโปรง หรือกางเกงค่ะ อย่างที่สอง ก็คือ การเตรียมตอบคำถาม อาจทำได้โดยสอบถามผู้ที่มีประสบการณ์ผ่านการสอบสัมภาษณ์เข้าหลักสูตรนั้น ๆ มาก่อน เพื่อที่จะได้ทราบถึงคำถามที่อาจารย์จะถาม อย่างไรก็ตามการรู้คำถามก่อนอาจสร้างความได้เปรียบให้ผู้เข้าสอบได้ หากผู้เข้าสอบได้นำเอาประเด็นคำถามนั้น ๆ มาพิเคราะห์ พิจารณาหาคำตอบที่เหมาะสม เพื่อให้ผ่านการสอบนั้นๆ ได้ค่ะ การเตรียมความพร้อมอย่างแรกนั้นไม่ยากไปกว่าเดินช๊อปปิ้งหาเสื้อผ้าที่เหาะสม อย่างที่สองจึงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนสนใจให้ความสำคัญกันเป็นอย่างมาก

ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างคำถามสำหรับการสอบสัมภาษณ์ที่สำคัญนะคะ อย่างแรกที่ผู้สมัครจะถูกถาม หรือขอให้พูดก็คือ “แนะนำตนเอง” การแนะนำตนเองไม่ใช่แค่บอกชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งงาน สถานที่ทำงาน หรือ ประวัติการศึกษาเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ต้องพูดถึง แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ส่วนที่สำคัญในการแนะนำตนเองก็คือต้องขายความเป็นตัวตนของเรา ความสามารถของเรา และ/หรือวัตถุประสงค์ในการเลือกเรียนหลักสูตรนี้ นอกจากนี้อาจารย์อาจถามอีกว่า ทำไมจึงเลือกสมัครเข้าเรียนหลักสูตรนี้ ต้องการอะไรจากหลักสูตรนี้ มีเวลาอุทิศให้กับการเรียนมากน้อยเพียงใด สามารถแบ่งปันอะไรกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้บ้าง เช่นประสบการณ์การทำงานของผู้สมัคร เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์บางท่านอาจถามอีกว่า ถ้าท่านสอบไม่ผ่าน หรือไม่ได้ทุน ท่านจะทำอย่างไรอีกด้วยนะคะ บางท่านอาจสอบถามเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสาขาวิชาที่ท่านเรียน หรือกำลังจะเรียนเพื่อเป็นการทดสอบว่าท่านมีความรู้เพียงพอในการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนั้นๆ หรือไม่ เช่น ถ้าสอบเข้า MBA ท่านอาจถูกถามว่าคิดอย่างไรกับโฆษณาสินค้าตัวนั้น ตัวนี้ หรืออาจถามคำถามความเห็นของท่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น

หลักการเตรียมการตอบคำถามต่าง ๆ ข้างต้น มีอยู่ง่าย ๆ ที่ว่าตอบให้เป็นตัวตนของเราให้มากที่สุด ตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด แสดงความคิดเห็นของท่านให้มากที่สุด Tips ง่าย ๆ สำหรับการเตรียมตัวเข้าสอบสัมภาษณ์ มีดังนี้

คำถามทั่วไป
1. เป็นตัวของตัวเอง แสดงออกถึงบุคลิกภาพให้ชัดเจน
2. ตอบคำถามทุกคถามด้วยความสัตย์ เปิดเผย และตรงไปตรงมา
3. ทำความเข้าใจคำถามให้ชัดเจน ว่าคำถามนั้นถามว่าอะไร ถ้าคำถามไม่ชัดเจน หรือไม่เข้าใจคำถาม ควรถามให้ชัดเจนก่อนตอบคำถาม
4. หลีกเลี่ยงการตอบคำถามแบบกำกวม
5. ศึกษาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย และหลักสูตรที่สมัครเรียน
6. ตรงต่อเวลา และแต่งกายให้ดูดี สุภาพ เรียบร้อย
7. ทดสอบตนเองเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของสาขาวิชานั้น ๆ บ้าง

คำถามเฉพาะ
1. อภิปรายถึงความสนใจพิเศษต่างๆ และ อาจถามถึงหลักสูตรนั้นๆ สามารถช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้นได้อย่างไร เช่น ถ้าสนใจเกี่ยวกับการลงทุน ก็อาจอภิปรายว่า การเรียน MBA สามารถช่วยให้รับรู้ และเข้าในเรื่องการจัดการการลงทุนไดดียิ่งขึ้น
2. สอบถามเกี่ยวกับผลงานวิจัยของสถาบัน และความสนใจพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่ท่านสนใจ
3. กล่าวถึงประวัติการทำงานของท่าน และประโยชน์ที่ท่านได้รับจากการทำงานนั้นๆ
4. ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรนั้นๆ และ สิ่งที่หลักสูตรนั้นๆ จะเป็นประโยชน์ต่อท่านในอนาคต
5. ถ้ามีปัญหา เช่น เกรดเฉลี่ยน้อยเกินไป, คะแนนสอบต่ำเกินไป, หรือประสบการณ์การทำงานน้อยเกินไป ให้ตอบอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ต้องขอโทษ หรือหาข้ออ้างใด ๆ อาจพูดถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของตนเองได้

สุดท้ายนี้ การสอบสัมภาษณ์ เป็นการสอบที่มีวัตถุประสงค์โดยรวม เพื่อดูว่าผู้สมัครมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะศึกษาต่อในหลักสูตรนั้น ๆ หรือไม่ และยังเพื่อให้ทราบว่าผู้สมัครคนนั้น ๆ มีเวลาเพียงพอหรือไม่ที่จะอุทิศให้กับการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการศึกษาในหลักสูตรนั้น ๆ